เมนู

เถรคาถา นวกนิบาต



1. ภูตเถรคาถา



ว่าด้วยคาถาของพระภูตเถระ


[369] เมื่อใด บัณฑิตกำหนดรู้ทุกข์ในเบญจขันธ์ที่ปุถุชน
ทั้งหลายไม่รู้แจ้งว่า ความแก่และความตาย นี้เป็นทุกข์
แล้วจมอยู่ เป็นผู้มีสติเพ่งพินิจอยู่ เมื่อนั้นย่อมไม่ประ-
สบความยินดีในเบญจขันธ์นั้น ยิ่งไปกว่าความยินดีใน
วิปัสสนาและในมรรคผล เมื่อใด บัณฑิตละตัณหาอัน
นำทุกข์มาให้ ซ่านไปในอารมณ์ต่าง ๆ นำมาซึ่งทุกข์
อันเกิดเพราะความต่อเนื่องแห่งธรรมเป็นเครื่องเนิ่นช้า
เป็นผู้มีสติเพ่งพินิจอยู่ เมื่อนั้น ย่อมไม่ประสบความยินดี
ยิ่งไปกว่าการพิจารณาธรรมนั้น เมื่อใด บัณฑิตถูกต้องทาง
อันสูงสุดเป็นทางปลอดโปร่ง ให้ถึงอริยมรรคอันประกอบ
ด้วยองค์ 8 อันเป็นที่ชำระกิเลสทั้งปวง ด้วยปัญญา มีสติ
เพ่งพินิจอยู่ เมื่อนั้น ย่อมไม่ได้ประสบความยินดียิ่งไป
กว่าการเพ่งพิจารณานั้น เมื่อใด บัณฑิตเจริญสันตบทอัน
ไม่ทำให้เศร้าโศก ปราศจากธุลีอันปัจจัยอะไร ๆ ปรุงแต่ง
ไม่ได้ ให้หมดจดจากกิเลสทั้งปวง เป็นเครื่องตัดกิเลส
เครื่องผูกพันคือสังโยชน์ เมื่อนั้น ย่อมไม่ได้ประสบ
ความยินดียิ่งไปกว่าการเจริญสันตบทนั้น เมื่อใด กลอง
คือเมฆอันเกลื่อนกล่นด้วยสายฝน ย่อมคำรนร้องอยู่ใน

นภากาศ อันเป็นทางไปแห่งฝูงนกอยู่โดยรอบ และภิกษุ
ไปเพ่งพิจารณาธรรมอยู่ที่เงื้อมเขา เมื่อนั้น ย่อมไม่ได้
ประสบควานยินดีอย่างอื่น ยิ่งไปกว่าการเพ่งธรรมนั้น
เมื่อใด บัณฑิตมีจิตเบิกบาน นั่งเพ่งพิจารณาธรรมอยู่ที่ฝั่ง
แม่น้ำทั้งหลาย อันดารดาษไปด้วยดอกโกสุม และดอก
มะลิที่เกิดในป่า อันวิจิตรงดงาม ย่อมไม่ได้ประสบความ
ยินดีอย่างอื่น ยิ่งไปกว่าการนั่งเพ่งพิจารณาธรรมนั้น
เมื่อใด มีฝนฟ้าร้องในเวลาราตรี ฝูงสัตว์ที่มีเขี้ยวก็พากัน
ยินดีอยู่ในป่าใหญ่ และภิกษุไปเพ่งพิจารณาธรรมอยู่ที่
เงื้อมเขา เมื่อนั้น ย่อมไม่ประสบความยินดีอย่างอื่น ยิ่ง
ไปกว่าการพิจารณาธรรมนั้น เมื่อใด ภิกษุกำจัดวิตกทั้ง-
หลายของตน เข้าไปสู่ถ้ำภายในภูเขา ปราศจากความ
กระวนกระวายใจ ปราศจากกิเลสอันตรึงใจ เพ่งพิจารณา
ธรรมอยู่ เมื่อนั้น ย่อมไม่ได้ประสบความยินดีอย่างอื่น
ยิ่งไปกว่าการพิจารณาธรรมนั้น เมื่อใด ภิกษุมีความสุข
ยังมลทินกิเลส อันตรึงจิตและความโศกให้พินาศ ไม่มี
กลอนประตู คืออวิชชา ไม่มีป่า คือตัณหา ปราศจาก
ลูกศร คือกิเลส เป็นผู้ทำอาสวะทั้งปวงให้สิ้นไป เพ่ง-
พิจารณาธรรมอยู่ เมื่อนั้น ย่อมไม่ได้ประสบวามยินดี
อย่างอื่น ยิ่งไปกว่าการเพ่งพิจารณาธรรมนั้น.

พระภูตเถระผู้เห็นธรรมโดยถ่องแท้ เป็นผู้เดียวดุจนอแรด
ได้ภาษิตคาถา 9 คาถานี้ไว้ในนวกนิบาต ฉะนี้แล.
จบภูตเถรคาถา
จบนวกนิบาต

อรรถกถานวกนิบาต



อรรถกถาภูตเถรคาถาที่ 1



ในนวกนิบาต มีคาถาของท่านพระภูตเถระ เริ่มต้นว่า ยทาทุกฺขํ
ดังนี้. เรื่องนั้นมีเหตุเกิดขึ้นอย่างไร ?
ท่านพระภูตะแม้นี้ เป็นผู้มีอธิการได้บำเพ็ญมาแล้วในพระพุทธเจ้า
พระองค์ก่อน ๆ ในภพนั้น ๆ ได้สั่งสมบุญซึ่งเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพาน
ไว้ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า สิทธัตถะ เกิดในตระกูล
พราหมณ์ได้นามว่า เสนะ พอรู้เดียงสาแล้ว วันหนึ่ง พบพระศาสดา มีใจ
เลื่อมใส จึงชมเชยด้วยคาถา 4 คาถา มีนัยเป็นต้นว่า อุสภํ ปวรํ ดังนี้.
ด้วยบุญกรรมนั้น ท่านจึงท่องเที่ยวไปในเทวโลกและมนุษยโลก
ในพุทธุปบาทกาลนี้ บังเกิดเป็นลูกชายของเศรษฐี ผู้มีทรัพย์สมบัติมาก
ในบ้านใกล้ประตูนครสาเกต. ได้ยินว่า ท่านเศรษฐีนั้นมีเด็ก ๆ เกิดขึ้น
แล้วหลายคน หากแต่ถูกยักษ์ตนหนึ่ง จับกินเสีย เพราะผูกใจอาฆาตไว้.
แต่สำหรับเด็กคนนี้ พวกภูตพากันยึดถือการรักษาไว้ได้ ก็เพราะความที่
เด็กนี้ เป็นผู้เกิดในชาติสุดท้าย.